วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อดีตบีอาร์เอ็น" เล่าปัญหาในขบวนการป่วนใต้ กับทางสองสายเมื่อเกิดประชาคมอาเซียน

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2012 เวลา 16:45 น. เขียนโดย ทีมข่าวอิศรา
          ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอดหลายปีของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามักมองปัญหาผ่านสายตาและข้อมูลของภาครัฐ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงเท่านั้น แต่แทบจะไม่เคยฟังข้อมูลจากฝ่ายผู้ก่อการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนโดยตรงเลย
ประกอบกับองค์กรของผู้ก่อความไม่สงบยังคงเป็น "องค์กรลับ" แม้จะปฏิบัติการก่อความรุนแรงในทางเปิดมากว่า 8 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่ "เสียลับ" ทำให้สังคมไทยมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบน้อยมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าพวกเขากำลังคิดอะไร มียุทธศาสตร์ในการก้าวไปข้างหน้าอย่างไร จะพาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปทางไหน และมีปัญหาภายในองค์กรของพวกเขาบ้างหรือเปล่า

          แม้ที่ผ่านมาจะมีการนำตัวผู้ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุมหรือกลับใจยอมเข้ามอบตัวมาบอกเล่าข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนบ้าง แต่หลายๆ ครั้งก็เหมือนเป็นการ "จัดฉาก" ของฝ่ายรัฐ
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นมุมมองส่วนตัว เป็นเรื่องของความลำบากในการใช้ชีวิต และความรู้สึกของผู้ก่อความไม่สงบรายนั้นๆ ในแง่ของการ "หลงผิด" เท่านั้นเอง หาได้บอกเล่าถึงแนวคิด ยุทธศาสตร์ และทิศทางของกลุ่มก่อความไม่สงบแต่อย่างใดไม่ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงแนวร่วมระดับล่าง หรือกลุ่มติดอาวุธระดับปฏิบัติการ

          แต่สำหรับอดีตคนในขบวนการ "บีอาร์เอ็น" ที่ยอมพูดคุยกับ "ทีมข่าวอิศรา" ในครั้งนี้ เป็นระดับแกนนำสายศาสนา ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งแล้ว ยืนยันตรงกันว่าอดีตคนในขบวนการรายนี้เป็น "ตัวจริง" และเป็นแกนนำในระดับพื้นที่ แต่สาเหตุที่หันหลังให้ขบวนการก็เพราะความขัดแย้งในเรื่องแนวทางการก้าวเดินต่อไป ทว่าเขาก็ไม่ได้หันหน้าไปอยู่กับฝ่ายรัฐ

          หลายคนอาจจะเข้าใจว่าคนที่เข้าเป็นสมาชิกขบวนการแล้ว หากถอยหลังออกมาย่อมหมายถึงความตาย แต่ในความเป็นจริงขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ชายแดนใต้ไม่ได้มีมาตรการถึงขั้นนั้น เพียงแต่เมื่อไม่ร่วมมือกับขบวนการแล้วก็อย่าขัดขวาง และห้ามไปให้ข้อมูลหรือเปลี่ยนข้างไปอยู่กับ "รัฐไทย" อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นอดีตสมาชิกหลายระดับที่ถอนตัวออกมาและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับรัฐ จึงยังคงอยู่ในพื้นที่ได้ตามปกติ แต่ก็จะถูกจับตาจากคนในขบวนการมากเป็นพิเศษ

          กรณีของแหล่งข่าวรายนี้ก็เช่นกัน เขาออกจากขบวนการและออกจากพื้นที่ไประยะหนึ่ง ก่อนจะกลับเข้ามาใช้ชีวิตตามเดิม เขาเล่าถึงปัญหาภายในขบวนการที่มีอยู่ไม่น้อย พร้อมแสดงทัศนะถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่กำลังคืบคลานเข้ามาของ "ประชาคมอาเซียน" ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่แท้จริงของสถานการณ์ชายแดนใต้

รอยร้าวทางความคิด!
          อดีตสมาชิกระดับนำของขบวนการบีอาร์เอ็นวัย 48 ปีที่ขอเรียกตัวเองด้วยนามสมมติว่า "ยูโซะ" บอกว่า สาเหตุสำคัญที่เขาหันหลังให้ขบวนการก็เนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เขา แต่แกนนำในขบวนการมีความเห็นไปคนละทิศละทางอย่างหลากหลายจนกลายเป็นความแตกแยก
          "ภายในขบวนการแตกกัน เนื่องจากระยะหลังคนในระดับนำคิดไปคนละทาง เพราะเห็นแล้วว่าการต่อสู้ของขบวนการอย่างที่ทำอยู่ไม่มีทางชนะ เนื่องจากตอนนี้กลุ่มขบวนการเองก็ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ แล้วเราจะมีโอกาสชนะเพื่อแบ่งแยกประเทศได้จริงหรือ จุดนี้ทำให้แกนนำแต่ละกลุ่มคิดกันไปต่างๆ นานาว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ชัยชนะ หรือวางจังหวะทิศทางเพื่อก้าวเดินต่อไป ซึ่งแต่ละคนก็คิดไม่เหมือนกัน"
          ยูโซะ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขบวนการปฏิวัติรัฐปัตตานีเดินไปไม่ได้ แต่การที่ยังมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ เพราะยังมีแนวรวมคอยก่อเหตุ ซึ่งการจะยับยั้งแนวร่วมเหล่านี้ทำได้ยากมาก เพราะพวกเขาถูกใส่ความเชื่อเข้าไปแล้ว ก็จะไม่รับฟังคนอื่น นอกจากคนในขบวนการเท่านั้น
          "ด้วยเหตุนี้การแก้ปัญหาความไม่สงบจึงต้องใช้ความละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา และใช้ความจริงใจเข้าหามวลชน แต่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ไม้แข็ง ใช้ตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็จะเหมือนเป็นการเติมเชื้อไฟ ปัญหาย่อมไม่มีวันสงบ"

ทุนป่วนมาจากไหน?
          การดำรงอยู่ของขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น เริ่มจากการหารายได้ขั้นพื้นฐาน ซึ่ง ยูโซะ แจกแจงให้ฟังอย่างละเอียด

          "สมัยก่อนเก็บเงินจากชาวบ้านคนละ 3 บาทหรือครอบครัวละ 3 บาทต่อวัน ซึ่งช่วงแรกๆ เรามีสมาชิกอยู่ทุกหมู่บ้านในพื้นที่สามจังหวัด สมมติว่าในหมู่บ้านหนึ่งมี 300 ครอบครัว เรามี 230 ครอบครัวที่เป็นสมาชิกแนวร่วม คนที่เป็นสมาชิกทุกคนต้องส่งเงินให้กับขบวนการ โดยเงินที่เราเก็บได้จะนำไปเป็นค่าใช้จ่าย บาทแรกนำไปซื้อกระสุน บาทที่ 2 และ 3 นำไปบริหารเพื่อต่อยอดให้สมาชิก เช่น ให้กลุ่มสตรีนำเงินไปซื้อผ้าถุง หรือเสื้อกุโรง (เสื้อสตรีมุสลิม) แล้วนำมาขายให้กับสมาชิกแนวรวมตามหมู่บ้านต่างๆ ในราคาที่แพงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย เพื่อนำส่วนต่างไปใช้ในการทำงาน ซึ่งสมาชิกทุกคนก็เต็มใจซื้อ เพื่อช่วยกันสานฝันอุดมการณ์ให้ประสบความสำเร็จ"
          "ส่วนต่างที่เป็นกำไร เราก็ส่งเข้าขบวนการ ส่วนทุนก็นำไปซื้อของมาขายใหม่ เราทำอยู่อย่างนี้มาตั้งนานแล้วโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่รู้ หรือรู้แต่ก็ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นเงินที่ได้ก็จะนำไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเด็กไปเรียนตามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อกล่อมเกลาจิตใจและฝึกให้ออกมาเป็นนักรบ"
          ยูโซะ ให้ข้อมูลด้วยว่า การต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชปัตตานีจากประเทศไทยครั้งนี้ถือเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นครั้งที่ 10 แล้ว และขณะนี้อยู่ในช่วงกลางของการต่อสู้

นี่แหละ...สงครามความคิด
          อย่างไรก็ดี ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีบรรดาแกนนำถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมไปเป็นจำนวนมาก แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ เหตุใดขบวนการจึงไม่อ่อนกำลังลงเลย ประเด็นนี้ ยูโซะ บอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า "สงครามความคิด"
          "เมื่อคนถูกใส่ความเชื่อเข้าไปแล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยน และยิ่งยากหากจะให้หยุดความคิดเหล่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเอาเสียเลย แต่มันต้องใช้เวลา สถานการณ์ขณะนี้ผ่านมาแค่เพียง 8 ปี จะให้มันสงบมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เนื่องจากทางกลุ่มขบวนการเขาปลูกฝังอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อมากว่า 20 ปี"
          ยูโซะ ชี้ว่า การจะทำให้แนวร่วมเปลี่ยนความคิด เงื่อนไขสำคัญที่สุดอยู่ที่ท่าทีของเจ้าหน้าที่รัฐ

          "ทุกวันนี้ปัญหาอยู่ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่า ชาวบ้านหรือกลุ่มขบวนการเองก็นั่งดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ แม้แนวทางการแก้ปัญหาจะผิดบ้างถูกบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐต้องรับฟังความคิดเห็นของคนทุกกลุ่ม แต่คำถามคือรัฐได้รับฟังจริงๆ แล้วหรือยัง ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งแต่ไม่รู้ว่าวันไหน แกนนำขบวนการจะยอมออกมาพูดคุยด้วยแน่ แต่สาเหตุที่ยังไม่ออก เพราะยังไม่มั่นใจหน่วยงานของรัฐ เพราะรัฐเองไม่เป็นเอกภาพเพียงพอ"

ย้อนรอยอดีต "กรือเซะ"
          เขายังยกตัวอย่างถึงกลวิธีการใส่ความคิดความเชื่อให้กับชาวบ้าน ซึ่งเห็นชัดเจนที่สุดในเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 หรือ "เหตุการณ์กรือเซะ"
          "ในช่วงนั้นมีแกนนำเป็นผู้นำศาสนาหลอกให้ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนออกมาเพื่อประกาศเอกราช โดยใช้วิธีการทางไสยศาสตร์ ให้ชาวบ้านถือลูกประคำติดตัวไว้โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่จะมองไม่เห็น โชคดีที่วันนั้นชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่เอาด้วย เพราะคิดได้ว่ามือเปล่าจะสู้กับปืนได้อย่างไร"

          "จริงๆ แล้วแกนนำคนที่หลอกชาวบ้านพยายามจะทำให้เกิดเหตุการณ์ทั้ง 3 จังหวัด ซึ่งหากเป็นอย่างที่เขาวางแผนไว้วันนั้นจะมีคนตายอีกเยอะ เป้าหมายเพื่อให้ต่างชาติมองว่าที่ปัตตานีมีการต่อสู้ของชาวมลายูเพื่อแบ่งแยกดินแดน แม้สุดท้ายจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ แต่เหตุการณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อชาวมลายู"

          ยูโซะ ยังชี้ด้วยว่า เหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 มีความซับซ้อนจากการวางแผนมาเป็นอย่างดี
          "จะเห็นได้ว่ามีการจัดวางคนไปก่อเหตุสลับพื้นที่กัน เช่น เอาคนปัตตานีไปก่อเหตุที่ จ.ยะลา แล้วนำคนจากอีกอำเภอหนึ่งไปก่อเหตุอีกอำเภอหนึ่ง เหตุผลก็เพื่อให้เกิดความยากที่คนเหล่านั้นจะหาทางกลับหรือหนีกลับเมื่อรู้ว่าถูกหลอก"
          "วันนั้นมีเด็กของผมตายไป 4 คน เราไม่รู้จริงๆ ว่าเด็กเหล่านี้ไปเชื่อคำพูดของคนที่มาหลอกได้อย่างไร และหลังจากเกิดเหตุการณ์ ผู้นำศาสนาคนนั้นก็หายตัวไป จากการที่ไปสำรวจคนเจ็บและตายไม่ปรากฏว่ามีเขาอยู่"
เมื่ออาร์เคเคสังกัด"มาเฟีย"

          ดังที่เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่า ปัญหาในขบวนการแบ่งแยกดินแดนเองก็มีไม่น้อยเหมือนกัน และไม่ได้มีปัญหาเฉพาะในกลุ่มแกนระดับนำ แต่ยังมีปัญหาใหม่ในระดับกลุ่มติดอาวุธ หรือ"อาร์เคเค" ด้วย
          "ขณะนี้กลุ่มอิทธิพลในพื้นที่รู้ช่องทาง จึงสร้างฐานอำนาจโดยนำอาร์เคเคมาเลี้ยงไว้ แล้วต่างฝ่ายต่างก็พึ่งพากัน กลุ่มอิทธิพลได้ใช้อาร์เคเคเป็นกองกำลังส่วนตัว โจมตีเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง โจมตีปรปักษ์ของตนเองบ้าง ขณะที่อาร์เคเคก็ได้เงิน ได้อาวุธ ได้กระสุน และมีคนคอยปกป้อง ที่แย่ก็คือเมื่อก่อนกลุ่มติดอาวุธมักอยู่ในป่า ปฏิบัติการในเขตป่า แต่วันนี้มาอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะสามารถก่อเหตุก่อวินาศกรรมได้ทุกเวลา"
          แต่ถึงกระนั้น ปฏิบัติการเชิงรุกของรัฐก็ทำให้ "อาร์เคเค" ลดจำนวนลงมิใช่น้อย...

          "ตอนนี้ผมคิดว่าขบวนการเริ่มมีปัญหา จากการสังเกตจะเห็นได้ว่าอาร์เคเคต้องออกไปปฏิบัติการต่างพื้นที่ เช่น เด็กจากปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ไปตายที่ อ.กรงปีนัง จ.ยะลา เด็กจากบังนังสตา (จ.ยะลา) ไปตายที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า อาร์เคเคมีน้อยลง ต้องไปปฏิบัติการนอกพื้นที่รับผิดชอบ แต่เมื่อไปปฏิบัติจริง กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากปีกแนวร่วมเพื่อรับประกันความปลอดภัย 100% เหมือนเมื่อก่อน ทำให้เริ่มมีความสูญเสีย และสะท้อนให้เห็นว่าขบวนการเองก็ไม่สามารถพูดคุยหรือขอความร่วมมือจากชาวบ้านได้มากเหมือนเดิม"

จุดเปลี่ยนที่ "ประชาคมอาเซียน"
          ถึงวันนี้ ยูโซะ มองว่า แม้จะมีปัญหาความขัดแย้งรุมเร้า และมีกลุ่มอิทธิพลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากอาร์เคเค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเดินทางถึงจุดเปลี่ยน เพราะภาครัฐยังไม่สามารถเปลี่ยนจาก "ฝ่ายรับ" มาเป็น "ฝ่ายรุก" ได้อย่างมีนัยสำคัญ
          ยูโซะ จึงเห็นว่า การก้าวสู่ "ประชาคมอาเซียน" ต่างหากที่น่าจะส่งผลต่อสถานการณ์ที่ชายแดนใต้ค่อนข้างรุนแรง

          "ผมเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์เบาบางลง เนื่องจากเยาวชนจะเริ่มให้ความสนใจเรื่องการศึกษามากขึ้น การเกิดประชาคมอาเซียนจะเป็นเหมือนกับการแยกสายน้ำหรือเส้นทางออกเป็น 2 สาย จากเมื่อก่อนมีเพียงสายเดียว ทำอะไรก็ไปในแนวทางเดียวกัน แต่เมื่อแยกเป็นสองแล้วจะทำให้มีตัวเปรียบเทียบว่าฝ่ายไหนจะดำรงอยู่ได้ แม้ฝ่ายที่เลือกแนวทางก่อความไม่สงบจะยังก่อเหตุได้ แต่ก็เชื่อว่าจะค่อยๆ ลดจำนวนลง"

          ส่วนแนวทางที่บางฝ่ายพยายามรณรงค์ให้เกิดการปกครองตนเอง หรือ "เขตปกครองพิเศษ" นั้น ยูโซะ บอกว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวคิด แต่ในทางปฏิบัติยังเร็วเกินไป ยังไม่ถึงเวลา เพราะชาวบ้านยังไม่มีความรู้พอ หากตั้งเขตปกครองพิเศษ ประโยชน์จะไปตกอยู่กับคนแค่บางกลุ่ม และชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นเบี้ยล่างเหมือนเดิม
          "แต่ผมคิดว่าในอนาคต สังคมชายแดนใต้จะต้องหันมาพูดเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มขบวนการรู้ว่าสู้ไปอย่างไรก็ไม่มีทางชนะ ทางแกนนำก็คงจะหันมาเลือกแนวทางต่อรองให้ได้เขตปกครองพิเศษ แต่ขณะนี้ทางขบวนการยังถือว่าได้เปรียบรัฐไทยอยู่ จึงยังไม่มีการเปิดเจรจาต่อรอง"
          ประโยคสุดท้ายของ ยูโซะ ดูจะอธิบายสถานการณ์ไฟใต้ ณ ปัจจุบันได้ดีที่สุด!

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เจ๊ะอาลี”และสมาชิกรวม 93

ถึงชั่วโมงนี้การติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ไทยกำลังเป็นที่สนใจของทุกฝ่ายทั้งฝ่ายความมั่นคง  ศอ.บต.  และประชาชาชนทั่วไปในทั้งและนอกพื้นที่  และแน่นอนว่าฝ่ายขบวนการเองก็ต้องติดตามความเป็นไปนี้ในลักษณะเกาะติด  เพราะนี่จะเป็นจุดหักเหสำคัญของสถานการณ์ว่าจะดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไปอีก 
ที่ว่าดีขึ้นคือ  ความร่วมมือระหว่างแกนนำระดับปฏิบัติการของขบวนการกับฝ่ายความมั่นคงครั้ง นี้  แม้ว่าจะยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดว่าจะพบทางออกร่วมกันหรือไม่  แต่เชื่อได้ว่าระหว่างนี้สถานการณ์ความรุงแรงจะเบาบางลง  แม้ว่าจะยังมี ผกร. กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยและยังคงปฏิบัติการจองเวรกับเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ บริสุทธิ์ต่อไป  แต่อย่างน้อยๆ  ความเคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่ม “เจ๊ะอาลี” หรือ นายแวอาลี  คอบเตอร์  วาจิ  ก็น่าจะลดน้อยลง  และที่ว่าจะเลวร้ายลงก็เพราะแกนนำระดับนโยบายที่อาจไม่เห็นด้วยจะสั่งการให้ ผู้ก่อเหตุรุนแรงกลุ่มอื่นๆ  เร่งก่อเหตุรุนแรงเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในการเข่นฆ่าประชาชนต่อ ไป   ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วง
แต่ที่แน่ๆ จากผลของการตัดสินใจของ “เจ๊ะอาลี”และสมาชิกรวม 93 คนครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการดิ้นทุรนทุรายของฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการขนานใหญ่  กระแสการบิดเบือนข่าวสารชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าถูกส่งผ่านสื่อชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสื่อเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศราวห่ากระสุน  ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์  http://www.ambranews.com  ซึ่งเป็นของคนไทยขายชาติบางคนที่ไปเช่า Sever ของ ประเทศมาเลเซีย  ที่คนในวงการสื่อรู้ดีว่ามักจะเสนอข่าวเผาบ้านตัวเองโดยมุ่งโจมตีฝ่ายความ มั่นคงและรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะในขณะที่ข้างฝ่ายมาเลเซียแสร้งทำไม่รู้ไม่ เห็น  ด้วยการสร้างภาพของ “เจ๊ะอาลี” แกนนำระดับสั่งการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส   ผู้ก่อคดีความมั่นคงมาอย่างโชกโชน  และเป็นผู้ร่วมวางแผนสั่งการให้แนวร่วมนำกำลังเข้าปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 เมื่อ 4 ม.ค.47  ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตไป 4 นาย และเพื่อนร่วมขบวนการที่ออกมารายงานตัวพร้อมกันครั้งนี้ให้กลายเป็นชาวสวน ยาง  เรียกว่าจากสหายร่วมรบกลายเป็นศัตรูในทันทีเลยที่เดียว 
ขณะเดียวกันก็กุข่าวว่าทั้ง 93 คนที่มาพบปะพูดคุยเพื่อสร้างแนวทางสันติในวันนั้นได้รับค่าจ้างจากฝ่ายความ มั่นคงมาแสดงละคร    นี่ย่อมแสดงถึงทาสแท้ในอุดมการณ์จอมปลอมของขบวนการที่ไม่เคยให้ความจริงใจ กับใครแม้คนที่เคยร่วมอุดมการณ์  ด้วยความกลัวว่าจะเสียมวลชน 
นี่จึงเป็นการดิ้นรนของขบวนการเพื่อรักษามวลชนไว้ให้ มากที่สุด  เพราะรู้กันอยู่ว่าการต่อสู้ในพื้นที่นี้ใครเพลี่ยงพล้ำงานด้านมวลชน  ประตูแพ้ก็อยู่ไม่ไกล
ด้านกลุ่มพูโลก็เข้าร่วมผสมโรงกับเค้าด้วยแบบไม่ทิ้งลาย “เสือกระดาษหิวเงิน” ตั้งหน้าตั้งตาเก็บเกี่ยวการปฏิบัติของกลุ่มอื่นๆ มานำเสนอแบบบิดเบือนตามถนัดผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม   เพื่อแอบอ้างหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องโดยการแบมือขอเงินจากต่างประเทศ เหมือนขอทานที่ไร้ยางอายต่อไป

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ประยุทธ์” ชี้ไฟใต้ไม่สงบง่าย เหตุโจรใต้มีหลายกลุ่ม แจงไม่ใช่มอบตัวแล้วจะจบ

ที่ ท่าอากาศยานนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 21 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเหตุการณ์วางระเบิดที่ร้านทองจังหวัดปัตตานี ว่า เคยบอกแล้วว่าเหตุการณ์ยังคงมีต่อไป ไม่ใช่ว่าพูดคุยกันแล้วแล้วจะเลิก เพราะมีหลายกลุ่มหลายพวกและเขาต้องการยกระดับขึ้นมา
 
ตนพยายามบอกกับหน่วยต่างๆว่าอย่าไปให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นการยกระดับเขาขึ้นมา ให้ความสำคัญเขามากขึ้นและจะกลายเป็นคู่ขัดแย้ง และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงจากภายนอก

อย่างไรก็ตามจากการที่ตนได้ไปเยือนประเทศอินโดนีเซีย ตนได้พูดคุยกับเขาในฐานะที่เป็นประเทศมุสลิม ซึ่งตนถามเขาว่าเขาทราบหรือไม่ว่าเราแก้ไขปัญหาอย่างไร เขาบอกว่าทราบดี ทั้งนี้เขายังชื่นชมว่าเราแก้ไขปัญหาได้ถูกแล้ว ยิ่งเฉพาะผู้ก่อเหตุในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เขา บอกว่าในประเทศของเขารบกันมาหลายปีไม่มีใครออกมามอบตัว ตนได้ใช้แนวทางของประเทศอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆที่มีเหตุการณ์เช่นนี้มา เทียบเคียงและมาเป็นบทเรียนและนำมาสู่การแก้ไขปัญหามาโดยตลอด

“คิดว่าการแก้ไขปัญหาของเราในขณะนี้มาถูกทางแล้ว แต่ที่ยังมีเหตุการณ์อยู่ เพราะว่าตราบใดที่คนพวกนี้ยังเปลี่ยนแนวคิดกลับมาไม่ได้ หรือหาทางกลับไม่ถูก เขาต้องพยายามสู้ไปก่อนจนกว่าเขาจะได้ชัยชนะ แต่สิ่งที่เรานำมาวิเคราะห์ก็คือถ้าเขาคิดว่าเขาจะชนะแล้วทำไมเขาถึงมามอบ ตัว ซึ่งเราไม่ได้บังคับหรือจัดฉากมา เขามาของเขาเอง พร้อมทั้งขอความมั่นใจจากเจ้าหน้าที่ว่าเขาออกมาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลขาอย่างไร ซึ่งคงจะใช้แนวทางคล้ายกับประกาศ 66/23 แต่ปัญหาที่มีอยู่คือเรื่องกฎหมายป.วิอาญา ที่ทางรัฐบาลได้ให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกอ.รมน.และศอ.บต.ไปดูแล้ว ว่าจะสามารถปรับตรงไหนอย่างไรไดบ้าง เพราะมาตรา 21 ของพร.บ.ความมั่นคงฯเรามีอยู่แล้ว ซึ่งมีคณะกรรมการในการกลั่นกรองและทำให้เกิดความล่าช้า ทำให้ฝ่ายโน้นเกิดความไม่มั่นใจ แต่ทั้งนี้ทุกอย่างต้องไม่ละทิ้งกระบวนการบยุติธรรม เพราเป็นความผิด”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อยากฝากไปยังญาติผู้ก่อเหตุว่าอย่ากลัวเจ้าหน้าที่ เพราะคนเราสามารถให้อภัยกันได้ สร้างความเข้าใจ สำหรับผู้ที่ไดรับผลกระทบจากการกระทำของเขาก็ต้องได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดเรียกว่าระบบหรือกระบวนการที่สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมและ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทุกความขัดแย้งสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการเยียวยา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินอย่างเดียว แต่เรามีการเยียวยาทางด้านจิตใจให้เขายอมรับ ทั้งนี้เราไม่ได้ยกเว้นโทษแต่สำหรับคนที่ไม่ได้ฆ่าคนพอที่จะยกโทษได้ เช่นคนที่ไปโรยตะปูเรือใบ เปรียบเหมือนเด็กเกเรที่เขาบอกให้ไปทำก็ทำ แต่ไมได้ไปฆ่าใคร แต่ถ้าไปฆ่าคนก็ต้องสอบสวนว่าเพราะสาเหตุใดควรจะลดโทษหรือไม่ แต่จะให้ยกโทษทั้งหมดคงไม่ได้

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

Selatan Dihantam Bom, 6 Korban Tewas Lebih 40 Cedera

Lagi, Aparat keamanan colonial Thailand menjadi sasaran serangan Pejuang Kebebasan Patani.

Bom mobil di Thailand selatan menewaskan enam orang dan melukai lebih dari 40 orang lainnya, Jumat 21 September.

Sebelum ini Selasa (18/9), Partai Demokrat Oposisi Abhisit Vejjajiwa dangan Kerajaan Partai Pheu Thai Perdana Menteri Yingluck bersama mengumpulkan kekuatan menangani masalah di daerah rawan Selatan Thailand. Serangan ini satu cabaran baru kerajaan mengusahakan langkah menangani situasi rumit.

Kepolisian Thailand mengatakan ledakan terjadi di kota Sai Buri, provinsi Patani tidak lama setelah sekelompok Unit RKK (Ronda Kumpulan Kecil) bersenjata menyerang toko emas sehingga banyak aparat keamanan yang bergerak menuju lokasi.

"Sampai saat ini terdapat enam korban tewas termasuk petugas paramiliter" kata seorang pejabat rumah sakit daerah Sai Buri. Ia mengatakan, 14 korban yang cedera berada dalam kondisi kritis.

Sementara itu, polis setempat mengkonfirmasi angka kematian itu dan mengatakan, 37 orang cedera di mana 25 di antaranya adalah warga sipil yang ceera ringan.

Sedikitnya enam orang terbunuh dan 40 lain terluka setelah sebuah mobil meledak di kawasan sibuk pusat perbelanjaan di Thailand Selatan. Kawasan itu dikenal paling rentang mengalami serangan.

Perawat rumah sakit kewalahan menolong para korban yang dilarikan ke rumah sakit terbesar kota Sai Buri. Darah korban berceceran di lantai rumah sakit ketika tubuh korban tewas dibawa masuk.

"Ada enam korban tewas saat ini," ujar pejabat Kementrian Kesehatan menurut konfirmasi rumah sakit local.

Sementara 41 lain teluka baik akibat serpihan bom ataupun luka bakar,' ujarnya. Di antara korban luka, 19 di antaranya mengalami cedera serius dan telah dibawa untuk dirawat ke rumah sakit provinsi lebih besar.

Kepala Polis Saiburi Kraisorn Wisitwong mengatakan melihat cara unit geriliyawan itu melakukan serangan penyerangan itu direncanakan dengan baik. Penyelidikan lebih lanjut sedang digelar polis.

Seorang juru bicara Angkatan Darat Thailand mengatakan tembakan ke arah toko emas di pusat kota Sai Buri terjadi tidak lama setelah sembahyang Jumat. Menurutnya, bom diledakkan setelah pasukan keamanan tiba di lokasi penembakan.

Ledakan menimbulkan korban jiwa dan menghancurkan sejumlah gedung di sekitarnya.

Wartawan BBC di Bangkok, Jonathan Head, melaporkan taktik serangan seperti itu sering digunakan oleh gerakan gerilyawan.

Tercetus kembali Obor Revolusi rakyat Patani pada than 2004 menuntut  hak kebebsan, hak keadilan di wilayah selatan yang majority penduduknya Melayu beragama Islam telah merenggut lebih dari 5.000 nyawa dari warga Melayu maupun warga Siam sejak berkobar lagi pada 2004.

Pemerintah Thailand, kata Jonathan Head, telah meluncurkan prakarsa untuk mengakhiri konflik, antara lain dengan menggunakan pendekatan militer dan pendekatan negosiasi tetapi sejauh ini belum membuahkan hasil seperti yang diharapkan.

Seorang jurubicara militer di Selatan, Kolonel Pramote Prom-in mengklaim bahwa bom tersebut, yang memicu kebakaran yang menghancurkan tujuh buah toko dan sepuluh toko lain sedikit kehagusan. Seragan ini dimaksudkan sebagai peringatan kepada penduduk setempat untuk tidak berbicara dengan pasukan keamanan setelah hampir 100 tersangka yang mengaku dirinya pejuang "menyerah" pekan lalu.

"Para geriliyawan Patani tidak ingin solusi damai (untuk mengakhiri konflik) sehingga mereka untuk tidak ingin berpihak dengan pemerintah," kata Kolonel Pramote. "Tapi itu tidak akan mempengaruhi upaya pemerintah."

Dalam menanggapi meningkatnya kekerasan selama musim panas, pihak berwenang mengatakan mereka telah memperbarui pembicaraan damai dengan para pemimpin pejuag.

"Jangan menyebutnya negosiasi ... tetapi ada pembicaraan untuk mencapai perdamaian yang merupakan kebijakan pemerintah yang penting," kata Wakil Perdana Menteri Yutthasak Sasiprapa pada bulan Agustus.

Tetapi demikian serangan dari Pejuang Kebebasan Patani terus berlanjut.

Para analis mengatakan kisi dari Pejuang Kebebasan Patani yang beroperasi di hutan subur dan di desa mau ke bandar di tiga provinsi selatan menggunakan taktik semakin canggih untuk melakukan serangan terkoordinasi.

Puluhan anggota pasukan keamanan Thailand telah tewas dalam beberapa pekan terakhir dalam penyergapan dan bom pinggir jalan.

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แค่คืนความเป็นธรรม"คำสารภาพ"โจรใต้"กลับใจ

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามเข้ามาแก้ไข เพื่อให้ความสงบสุข
กลับคืนสู่พี่น้องชาวใต้อีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ และกำลังพลเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่สงบ
กลับรุนแรงขึ้นทุกขณะไม่เว้นแต่ละวันถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวถือเป็นภาระหนัก อึ้งที่รัฐบาลต้องตอบโจทย์ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่า
มาตรการ การแก้ไขปัญหา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเดินมาถูกทาง โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร ปี 2551 เพื่อให้ผู้ที่หลงผิดกระทำการก่อการร้ายกลับเป็นพลเมืองดี เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เจริญยิ่งขึ้น
และจากมาตรการดังกล่าวทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบทยอยเข้ามอบตัว โดยล่าสุดกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวน 40 คนได้ติดต่อ
ขอมอบตัว ผ่านทาง นายประพัฒน์ วิบูลย์สุขทนายความอิสระ ผู้ประสานงานกับอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นได้เจาะลึกถึงสาเหตุ และแรงจูงใจที่ทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ
ในพื้นที่ พร้อมทั้งสาเหตุที่ยอมกลับใจมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่นายเต็ง(นามสมมุตติ) อดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
1 ใน 40 คนที่จะเข้ามอบตัว เปิดใจต่อ "ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่น" ว่าเข้าร่วมขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2548 โดยการชักชวนจากเพื่อนในกลุ่มพื้นที่ จ.ปัตตานี ส่วนสาเหตุที่เข้าไปร่วมในขบวนการเป็นเพราะ
ความโกรธแค้นที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม และ สังหารเพื่อน-ญาติทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิด
เมื่อย้อนถามไปถึงพฤติกรรมการก่อเหตุในพื้นที่นั้น ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นถึงกับอึ้ง เมื่อได้รับคำตอบว่าหลังจากเข้าร่วม
ขบวนการเคยก่อเหตุมาแล้ว6 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการยิงสายข่าว เจ้าหน้าที่รัฐ หรือตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่งลอบวางระเบิดในพื้นที่
โดยในแต่ละครั้งหากเป็นการยิงสายข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐจะได้เงิน 400-500 บาท แต่ต้องทำงานสำเร็จ คือ "ฆ่าให้ตาย" ส่วนการวางระเบิด
จะได้ครั้งละ 1 หมื่นบาท ขึ้นไปแล้วแต่ความยากง่ายของงานคือ กลุ่มแรก จะเป็นคนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา กลุ่มที่สอง
จะเป็นคนประกอบระเบิด ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะเป็นคนนำระเบิดไปวางยังจุดที่ได้รับมอบหมาย ผมอยู่ในกลุ่มสุดท้ายคือ นำระเบิด
ไปวางตามเป้าหมายที่ต้องการก่อเหตุโดยการวางระเบิดแต่ละครั้งจะอำพรางตัวเองเป็นชาวบ้านเมื่อก่อเหตุเสร็จจะหลบหนีไป
อยู่บ้านเพื่อน 4-5 วัน หรือบางครั้งอยู่ในบ้าน เมื่อเรื่องเงียบจะออกมาใช้ชีวิตตามปกติ" อดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลับใจกล่าว.  
อย่างไรก็ตามในมุมมองของนายเต็ง ได้กล่าวถึงสาเหตุของความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเพราะการแย่งผลประโยชน์
ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเถื่อน หรือยาเสพติด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนหรือสงครามศาสนา
รวมถึงความไม่เข้าใจ ภาษาการสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดการดูถูกเหยียดหยาม ชาวบ้านจึงเกิดความ
คับแค้นเข้าร่วมกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ทำให้กลุ่มก่อการ้ายขยายเป็นวงกว้าง ขณะเดียวกันผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ
ที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแยกออกว่า "ใครเป็นคนก่อเหตุตัวจริงกันแน่"

นอกจากนี้นายเต็ง มองถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้สงบลงว่า ควรให้ทหารดูแลพื้นที่โดยตรง ควรยกเลิกกลุ่มอาสาทหารพราน
เพราะอาสาทหารพรานบางคนไม่เข้าใจปัญหา บางคนเคยทำผิดมาก่อน เมื่อฝึกอบรมออกมามีตำแหน่งกลับมาถืออาวุธข่มขู่ชาวบ้าน
บางครั้งถึงขนาดจับคนในพื้นที่ไปติดคุกทั้งที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ต่างจากทหารเพราะทหารได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี
สุดท้ายนายเต็ง ได้เปิดใจถึงสาเหตุที่ออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่รัฐว่า ที่ผ่านมาหลงผิดกับสิ่งที่ทำไป ส่วนตัวอยากให้พื้นที่ 3 จัดหวัดชายแดน
ภาคใต้สงบสุขเหมือนเดิม ผมอยากจะช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับไปคุมขัง ทั้งที่ไม่ได้ทำความผิด พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
วันนี้ผมอยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่เพื่อนที่ถูกฆ่า และถูกยัดข้อหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายขณะเดียวกัน ทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่น
ได้ประสานผ่าน นายประพัฒน์ ผู้ประสานงานอย่างอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อเข้าไปพูดคุยกับนายยา (นามสมมุติ) กลุ่มผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2544
นายยาเปิดใจว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2544 เคยเป็นอดีตทหารพรานทำงานให้รัฐในหน้าที่ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
และเป็นสายข่าว ต่อมากลับมาถูกจับยัดข้อหาในคดีฆ่าปาดคอ โดยขณะนั้นมีพยานเพียงเด็ก 7 ขวบ ลูกชายของผู้ตายชี้รูปว่า
ใครเป็นก่อเหตุเท่านั้น เมื่อถูกจับกุมไป การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนไม่มี ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบออกอาละวาด
ประกอบกับในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ ทำให้มีประชาชนที่เป็นมุสลิม
ในพื้นที่ถูกเจ้าหน้าที่ยัดข้อหา และวิสามัญฆาตกรรม เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงโกรธแค้นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเข้าไปร่วมกลุ่มพูโล หรือ
อาร์เคเค ในปัจจุบัน แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแย่งชิงผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
"ถ้าต้องการให้ชายแดนใต้สงบ เจ้าหน้าที่ต้องคืนความเป็นธรรม ให้แก่ชาวบ้านที่ถูกจับกุม หรือถูกสังหารในคดี
ที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น และทำตามข้อเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างการแก้ปัญหาได้ที่อดีตผู้ก่อความไม่สงบ 40 คน
ได้เสนอไปปัญหาเหล่านี้จะจบลงอย่างแน่นอน"นายยากล่าวปิดท้ายอย่างน่าสนใจ
"แสงสว่างปลายอุโมงค์ นโยบายการนำคนกลับบ้าน และส่งเสริมรับฟังผู้มีความคิดต่าง ไม่ยอมรับผู้ใช้อาวุธทุกกรณี
บวกการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ของขุนทัพยี่ห้ออุดมชัย ของทัพภาค 4 คนปัจจุบัน คือ
ขวากหนามที่ กลุ่มขบวนการต่อกรด้วยยากจริงๆ"(ผู้โพส)

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

Gerela Patani Tembak Mati Tiga Tentara Thai (kafir)

Tiga tentara paramiliter ditembak mati oleh geriliyawan Patani yang kemudian membakar tubuh mereka dalam penyergapannya di Thailand selatan, Sabtu (15/9) pagi.

Tiga korban diserang saat mereka pergi ke sebuah pasar di Yala. Kejadian ini berlaku di desa Pramat Kabupaten Muang Provinsi Yala.

Wilayah itu merupakan salah satu sarang ‘perang’ yang sudah berlangsung sejak delapan tahun terakhir yang majority Melayu Muslim yang hidup di provinsi perbatasan itu.

Konflik antar kerajaan Gajah Putih dengan penduduk etnis Melayu telah merenggut 5.300 nyawa.

"Saya berpikir bahwa mereka telah meninggal sebelum orang bersenjata membakar truk pick-up mereka," kata Letnan Kolonel Charas Chinapong, aparat polis dari distrik Muang, menambahkan bahwa mayat ditemukan di dalam truk.

Ratusan selognsong peluru yang ditemukan di TKP, katanya.

Sebuah kelompok pro kemerdekan Patani yang menginginkan sebuah ‘Negara Independen’ yang lebih besar melakukan serangan hampir setiap hari di provinsi Yala, Pattani dan Narathiwat.

Sementara dalam upaya menanggapi tindak kekerasan yang terjadi, pemerintah colonial Thailand mengusahakan pembicaraan dengan para pemimpin Pejuang Kebebasan Patani, namun analis skeptis (tidak percaya) perdamaian terwujud dalam waktu dekat.

ร่อนจม.เปิดผนึกขอคำมั่นฝ่ายรัฐ

ทั้งนี้ การแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ กับพวก ครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนามกลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายู ปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน คือ 1.เข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำ ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อ สถานการณ์เปลี่ยนแปลง รัฐกำหนดนโยบายที่สร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่ พร้อมกับขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อข้อเรียกร้อง
สำหรับประเด็นข้อเรียกร้อง คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อผู้ที่ยุติบทบาทการใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราคาดหวังคำตอบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างสังคมให้มีความสันติสุขยุติความรุนแรงโดยสิ้น เชิง แม้มีบางกลุ่มยังเคลื่อนไหวด้วยวิธีรุนแรง แต่ที่สุดก็จะเป็นส่วนน้อยในทรรศนะของมวลชนส่วนใหญ่
โร่เช็คหมายจับก่อนให้ประกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้ามอบตัวครั้งนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงมีการเช็คประวัติเป็นราย บุคคล หากมีหมายจับก็จะนำสู่กระบวนการสอบสวน และอนุญาตให้ประกันตัวสู้คดี ถ้าไม่มีหมายจับและตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงก็จะนำเข้าอบรมเพื่อ สลายพฤติกรรม พร้อมทั้งหาอาชีพให้ทำเพื่อจะได้อยู่กับครอบครัวต่อไป
ชี้ดูแลดีมีหัวโจก 2 รายรอมอบตัว
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐบาลดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์ และพวก อย่างดี อีกไม่นาน นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ก็จะประสานออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ กับรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่คงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและกองทัพ ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนเรื่องคดีความ
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า การขอเจรจากับรัฐบาลเรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยังนายกรัฐมนตรี ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไปจึงเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่ทำให้แนวร่วมผู้ ก่อความไม่สงบยังไม่กล้าออกมามอบตัว และยังคงทำให้ภาคใต้มีสถานการณ์ความรุนแรงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้
แม่ทัพ 4 เผยเป็นจุดเริ่มที่ดี แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย
ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวกับผู้ที่แสดงตนทั้ง 93 คนว่า ทุกคนที่มาในวันนี้เพื่อแสดงจุดยืนในอุดมการณ์การต่อสู้เชิงสันติ และเป็นไปตามนโยบายสานใจสู่สันติของกองทัพภาคที่ 4 เจ้า หน้าที่ทุกฝ่ายยอมรับในความแตกต่าง แต่ยอมรับไม่ได้ในการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ ในส่วนของผู้ที่มีหมาย พรก.เมื่อเข้ามาแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ ถือว่า พรก.ยุติและจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ส่วน ป.วิอาญาก็จะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่เอื้อต่อผู้ที่หลงผิดที่กลับใจ อย่างไรก็ตาม นโยบายของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้กำหนดกรอบไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้มีการต่อสู้เชิงสันติ ทั้งการสร้างความเข้าใจรวมทั้งการเปิดพื้นที่เพื่อให้มีการพูดคุยของผู้หลง ผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปรับแนวทางเข้าหันให้มากที่สุด แต่ย้ำว่าทุกคนมีทางออก ไม่มีใครแพ้หรือชนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงตนในครั้งนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายในการ ต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป